messager
 
เทศบาลตำบลไชยปราการ call ข้อมูลการติดต่อ


เทศบาลตำบลไชยปราการ
อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-457369 - 71 Fax : 053-457360

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลไชยปราการ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
chat ข้อมูลหน่วยงาน
ภาพ



ประวัติของเทศบาลตำบลไชยปราการ
เทศบาลไชยปราการเดิมประกาศเป็นสุขาภิบาล ไชยปราการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 และเทศบาลตำบลไชยปราการ ได้รับการปรับชั้น เทศบาลเป็นชั้น 6 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 และยกฐานเป็นเทศบาลขนาดกลาง จนถึงปัจจุบัน หลังจากได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหาร ราชการอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 มีพื้นที่การปกครอง 5.85 ตร.กม. ต่อมาได้ประกาศเปลี่ยนแปลง ขยาบเขต เทศบาลตำามประกาศพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2512 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 86 ตอนที่ 117 ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2512 ขยายเขตจากเดิม 5.85 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 18.26 ตร.กม. การยุบรวม อปท. เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2547 ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวม องค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล ได้รวม องค์การบริหารส่วนตำบล ปงตำเข้าไว้กับ เทศบาล ตำบลไชยปราการ จนทำให้มีเนื้อที่ในความรับผิด ชอบทั้งหมดรวมเป็น 49.13 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบัน เทศบาลตำบลไชยปราการ ได้ย้ายมา สำนักงานแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ต้งอยู่เลขที่ 702 ม.2 ต.ปงตำ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ มีเนื้อที่ 31 ไร่ 3 งาน 25 ตารางวา (ที่มา ข้อมูล: งานพัสดุ กองคลัง) ซึ่งเป็นสำนักงานราชการ ที่กว้างใหญ่ ภายในสำนักงานยังมีอาคารป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย, โรงเรียนเทศบาล 1 เทศบาล ตำบลไชยปราการ, อาคารอเนกประสงค์ชั้นลอย และ สนามฟุตบอล 7 คน ฯลฯ เป็นต้น
เอกสารจัดตั้งและควบรวมหน่วยงาน

ดวงตราสัญญาลักษณ์ของเทศบาลตำบลไชยปราการ

ความหมายของตราสัญลักษณ์
1.เป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร 2. วงกลมข้างนอกเขียนว่า "เทศบาลตำบลไชยปราการ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่" 3. วงกลมวงใน 3.1. มีรูปภูเขา หมายถึง ดอยเวียงผา 3.2. มีรูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองเวียงไชยปราการ
ดอกไม้ประจำเทศบาล

ความหมายของดอกไม้ประจำเทศบาล
ดอกเอื้องคำ เป็นดอกไม้ประจำของเทศบาลตำบลไชยปราการ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง ดอกเอื้องงามปี๋ใหม่เมือง สามารถอ่านบทความและความหมายของ ดอกเอื้องคำได้ ที่นี้ https://www.royalparkrajapruek.org/News/news_detail?newsid=321
ข้อมูประชากร
ข้อมูลจำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ ณ เดือน สิงหาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,450 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 7,824 คน หญิง จำนวน 7,626 คน รวมทั้งหมด จำนวน 15,450 คน และมีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 6,701 หลัง ข้อมูล มีดังนี้ ตำบลปงตำ จำนวน 3,207  หลัง ตำบลศรีดงเย็น จำนวน 2,437  หลัง ตำบลหนองบัว จำนวน 1,057  หลัง รวมทั้งหมด จำนวน 6,701 หลัง หมายเหตุ : ข้อมูลจาก งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาลตำบลไชยปราการ ณ วันที่ สิงหาคม 2566
สามารถ Download ไฟล์ .xls ของข้อมูลประชากรและครัวเรือนได้ ที่นี้

สภาพทั่วไปของเทศบาล
เทศบาลตำบลไชยปราการ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ทางทิศเหนือของ จังหวัดเชียงใหม่ ระยะห่างจากตัว จังหวัดประมาณ 127 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 850 กิโลเมตร ทางทิศใต้ของอำเภอ ไชยปราการ มีเส้นทางคมนาคม ติดกับอำเภอเชียงดาว จังหวัด เชียงใหม่ ระยะ ทาง ประมาณ 60 กิโลเมตร ทางทิศเหนือของอำเภอ ไชยปราการ มีเส้นทางคมนาคม ติดกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลตำบลไชยปราการ มีพื้นที่รวม 49.13 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 3 ตำบล 20 หมูบ้าน ของ อำเภอไชยปราการคือ 1. ตำบลปงตำ มี 8 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.1 บ้านปงตำ หมู่ 1 ตำบลปงตำ 1.2 บ้านท่า หมู่ 2 ตำบลปงตำ 1.3 บ้านปางควาย หมู่ 3 ตำบลปงตำ 1.4 บ้านมิตรอรัญ หมู่ 4 ตำบลปงตำ 1.5 บ้านป่ารวก หมู่ 5 ตำบลปงตำ 1.6 บ้านห้วยม่วง หมู่ 6 ตำบลปงตำ 1.7 บ้านห้วยปง หมู่ 7 ตำบลปงตำ 1.8 บ้านทุ่งยาว หมู่ 8 ตำบลปงตำ 2. ตำบลหนองบัว มี 3 หมู่บ้าน ได้แก่ 2.1 บ้านเด่น หมู่ 1 ตำบลหนองบัว 2.2 บ้านห้วยไผ่ หมู่ 2 ตำบลหนองบัว 2.3 บ้านหนองบัว หมู่ 3 ตำบลหนองบัว 3. ตำบลศรีดงเย็น มี 9 หมู่บ้าน ได้แก่ 3.1 บ้านแม่ขิ หมู่ 1 ตำบลศรีดงเย็น 3.2 บ้านแม่ขิหล่ายฝาง หมู่ 2 ตำบลศรีดงเย็น 3.3 บ้านศรีดงเย็น หมู่ 3 ตำบลศรีดงเย็น 3.4 อินทราราม หมู่ 4 ตำบลศรีดงเย็น 3.5 บ้านอ่าย หมู่ 5 ตำบลศรีดงเย็น 3.6 บ้านทรายขาว หมู่ 7 ตำบลศรีดงเย็น 3.7 บ้านดงป่าสัก หมู่ 9 ตำบลศรีดงเย็น 3.8 บ้านเชียงหมั้น หมู่ 15 ตำบลศรีดงเย็น 3.9 บ้านใหม่ศรีดงเย็น หมู่ 17 ตำบลศรีดงเย็น อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า
สภาพภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลไชยปราการมีพื้นที่ 49.13 ตารางกิโลเมตร มีแนวภูเขาล้อมรอบ ลักษณะ เอียงลาดไปทางทิศตะวันออกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมมีลำธารและลำห้วยไหลลงสู่ แม่น้ำฝางที่ไหลผ่านเขตเทศบาลไปทางทิสเหนือ ซื่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ใช้ในการเกษตรกรรม ได้ทุกฤดูกาล
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป ในช่วงฤดูร้อนจะร้อนระดับปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวจะหนาวจัด ฤดูฝนจะมีฝนตกซุก เหมาะสำหรับการทำการเกษตรกรรม
สภาพสังคม
ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเะทศบาล โดยภาพรวมแล้วเป็นสังคมแบบกลุ่ม ชาวบ้านดั้งเดิมนี้ จะถือปฎิบัติขนบธรรมเนียม และประเพณีท้องถิ่นโดยเคร่งครัด กลุ่มชาวบ้านที่มาอาศัยอยู่ใหม่ ซึ่งมาตั้งรกรากอยู่ในเขตเทศบาล ส่วนประชากรแฝงในเขตเทศบาล ยังมีจำนวนหนึ่ง เนื่องจากมีจำนวน ประชากร ที่เป็นผู้ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ แต่ยังไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน เข้ามาด้วย ได้แก่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน และแรงงานที่เข้ามาทำงานในเขตเทศบาล ที่มาเช่าอาศัยอยู่ตามบ้านพัก โดยไม่มีหลักฐาน ทางทะเบียนอีกจำนวนมาก
สภาพเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม
ท้องถิ่นไชยปราการ เป็นชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นจากการที่มีภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีลำน้ำฝาง ไหลผ่าน มีความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ และพื้นที่เหมาะแก่การเกษตร ประชากรส่วนใหญ่จึงมี อาชีพเกษตรกร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ลิ้นจี่ ลำไย ส้ม กระเทียม หอมแดง และมีสัตว์เลี้ยง 1. อาคารพาณิชย์ จำนวน 168 แห่ง 2. อาคารที่พักอาศัย จำนวน 11,409 แห่ง 3. โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 1 แห่ง 4. ตลาดสด (ขนาดใหญ่) จำนวน 1 แห่ง 5. ธนาคาร จำนวน 5 แห่ง 6. ส่วนราชการ จำนวน 27 แห่ง 7. สถานศึกษา จำนวน 9 แห่ง 8. ตลาดนัด จำนวน 2 แห่ง 9. สหกรณ์การเกษตร จำกัด จำนวน 3 แห่ง 10. โรงแรม (ห้องพัก) จำนวน 13 แห่ง 11. โรงฆ่าสัตว์ จำนวน 1 แห่ง 12. โรงแว็กซ์ จำนวน 2 แห่ง (แหล่งข้อมูล : งานแผนที่ภาษี ฝ่ายพัฒนารายได้ กองคลัง เมื่อเดือน กันยายน 2566) นอกจากนี้ ประชากรในเขตเทศบาลนอกจากจะมีอาชีพเป็นเกษตรกรเป็นอันดับหนึ่งแล้ว ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้างในภาครัฐและภาคเอกชน รับจ้างทั่วไป รองลงมาจากการประกอบ อาชีพค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจเป็นต้น