งานทะเบียนราษฎร |
เจ้าบ้าน
เจ้าบ้านคือ คนที่เป็นหัวหน้าครอบครองในบ้านหลังนั้น ซึ่งการครอบครองนี้อาจจะครอบครองใน ฐานเป็นเจ้าบ้าน ผู้เช่าบ้าน หรือในฐานะอื่นๆ ก็ได้ คนที่เป็นเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย หรือไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้ คนที่ดูแลบ้าน หรือที่อยู่ในบ้านขณะนั้น เป็นเจ้าบ้าน |
เจ้าของกรรมสิทธิ์กับเจ้าบ้าน ต่างกันอย่างไร
บางท่านเข้าใจผิดว่าเจ้าบ้านหมายถึงเจ้าของบ้าน ซึ่งเจ้าบ้านตามความหมายทะเบียนราษฎรมีจุด ประสงค์เพื่อทำหน้าที่แจ้งต่างๆ เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร อาจจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหรือไม่ก็ได้ การจะดูว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้ดูที่หลักฐานการได้มาของกรรมสิทธิ์ เช่น หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือพินัยกรรม เป็นต้น
|
หน้าที่ของเจ้าบ้าน
กฏหมายทะเบียนราษฎร ได้กำหนดให้เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนในเรื่องต่อไปนี้หาก ไม่แจ้งจะถือว่ามีความผิดตามกฏหมาย คือ
- มีคนเกิดในบ้าน
- มีคนตายในบ้าน
- มีคนย้ายออก
- ย้ายเข้ามาบ้านหลังนั้นๆ
- มีการปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อถอน
|
คนที่จะทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน
โดยปกติแล้ว เมื่อมีการแจ้งต่อนายทะเบียน นายทะเบียนก็จะตรวจสอบดูว่าคนไปแจ้งนั้นเป็น เจ้าบ้านหรือไม่ โดยดูจาก
1. บัตรประจำตัวประชาชนของคนแจ้งพร้อมทะเบียนบ้านที่นำไปแสดงว่าคนที่ไปแจ้งมีชื่อใน ทะเบียนบ้านและในช่องรายการระบุว่าเป็น "เจ้าบ้าน" หรือไม่
2. ถ้าไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1 ก็จะตรวจดูว่าคนที่ไปแจ้งมีชื่อ ปรากฏในทะเบียนนั้นหรือไม่ ถ้ามี ก็บันทึกปากคำไว้เป็นหลักฐาน ถึงสาเหตุที่ไปแจ้งแทนเจ้าบ้าน กรณีที่ผู้มีชื่อในบ้านเป็ฯผู้เยาว์หรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้ปกครองตามกฎหมาย(บิดา มารดา หรือผู้รับบุตรบุญธรรม) เป็นผู้ทำหน้าที่แทน
3. ผู้ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านประสงค์จะทำหน้าที่เจ้าบ้านต้องมีหนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
4. แต่ถ้าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านว่างไม่มีใครมีชื่ออยู่ในบ้าน ให้คนที่ครอบครองดูแลบ้านอยู่ขณะนั้นไป แจ้งนายทะเบียนก็จะบันทึกปากคำไว้และดำเนินการรับแจ้งให้เช่นกัน
|
การมอบหมาย
กรณีคนที่มีชื่อรายการในทะเบียนบ้าน ระบุว่าเป็นเจ้าบ้านไม่ได้ไปแจ้งด้วยตนเอง หรือไม่ได้ให้คน ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเดียวกันไปแจ้ง แต่มอบหมายใน้บุคคลอื่นไปแจ้งแทนก็จะต้องให้ผู้ที่ได้รับมอบหมาย นำเอกสาร ต่อไปนี้แสดงต่อนายทะเบียนด้วย คือ
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านผู้มอบหมาย รับรองสำเนา บัตรประจำตัวประชาชนไว้ด้วย
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง (ผู้รับมอบหมาย)
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน
- หนังสือมอบหมาย หรือมอบฉันทะของเจ้าบ้าน |
การแจ้งเกิด
เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน ท้องถิ่น ภายใน 15 วันนับแต่วันที่เกิด
1. ให้แจ้งขื่อตัวของเด็กเกิดใหม่ พร้อมกับการแจ้งเกิดและแจ้งชื่อสกุลด้วย พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็ก
2. แจ้งวันเดือนปีและสถานที่เกิด ถ้ามีหนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาลให้นำมาแสดงด้วย
3. แจ้งชื่อตัว-ชื่อสกุลบิดา มารดาของเด็ก
4. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุลและที่อยู่ของ ผู้แจ้งการเกิดตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบัตร ประจำตัวประชาชนที่นำมาแสดง(กรณีผู้แจ้งไม่ใช่บิดา-มารดา)
หลักฐานที่ไปแสดง
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านบิดา มารดาของเด็ก
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือรับรองสถานที่เกิด
การแจ้งเกิดเกินกำหนด กรณีมีคนเกิดแต่ไม่ไปแจ้งการเกิดภายใน 15 วันบับตั้งแต่วันที่เกิด ระวาง โทษปรับไม่เกิด 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) |
การแจ้งการตาย
เมื่อมีคนตายในบ้านให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งกับท้องถิ่นที่มีคนตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
เมื่อมีคนตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งทท้องที่ ที่ตายหรือพบศพหรือท้องที่ที่พึงแจ้งได้ ภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ ในกรณีนี้จะแจ้ง ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้
1. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุลและที่อยู่ของผู้ตายตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัว ประชาชนที่นำไปแสดง
2. แจ้งวันเดือนปีและสถานที่ที่ตายพร้อมสาเหตุการตาย ถ้ามีหนังสือรับรองสถานที่ตายจากสถาน พยาบาลหรือสถานีตำรวจให้นำไปแสดงด้วย และถ้าทราบ ชื่อตัว-ชื่อสกุลของบิดา มารดาของผู้ตายให้แจ้ง ต่อนายทะเบียนด้วย
3. แจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับศพของผู้ตายด้วยว่า จะเก็บ ฝัง เผา ทำลายหรือย้ายศพที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
4. แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุลและที่อยู่ของผู้แจ้งการตายตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตร ประจำตัวประชาชนที่นำมาแสดง
|
หลักฐานที่นำไปแสดง
- สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย
- หนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาล (ทร. 4/1)
กรณีตายผิดธรรมชาติ ที่ในบ้าน นอกบ้าน
เช่นถูกฆ่าตาย ตกจากที่สูง อุบัติเหตุ งูกัด เป็นต้น ต้องมี หลักฐานการชันสูตรพลิกศพจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
การแจ้งตายเกินกำหนด
เวลาหมายถึงกรณีตายแต่ไม่ได้แจ้งการตายภายในเวลาที่กฏหมายกำหนด กรณีนี้ให้ผู้แจ้งการตายยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่การตายหรือพบศพ โดยดำเนินการ ดังนี้
1. เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้วตรวจสอบคำร้องและเอกสารที่ผู้แจ้งนำไปแสดงแล้วดำเนิน การเปรียบเทียบคดีความผิดตามกฎหมายกำหนดไว้
2. สอบสวนสาเหตุจากพยานบุคคลเพื่อให้ทราบถึงวันเวลาสถานที่และสาเหตุการตายและผู้รู้เห็น การตายตลอดจนสาเหตุที่ไม่มาแจ้งตายภายในเวลากำหนดรวบรวมหลักฐานและพิจารณา เมื่อเห็นว่าเชื่อถือ ได้สั่งอนุญาตให้รับแจ้งและดำเนินการต่อไป
3. ผู้ใดไม่มาแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาท)
|
การขอหมายเลขประจำบ้าน
ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งเพื่อขอหมายเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สร้าง เสร็จ บ้านที่จะขอเลขที่จะต้องมีลักษณะเป็นบ้านสามารถอยู่อาศัยได้ |
หลักฐานประกอบการขอเลขหมายประจำบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอหมายเลขและผู้แจ้ง
- ใบอนุญาตก่อสร้าง (ถ้ามี)
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน(ถ้ามี) พร้อมสำเนาภาพถ่าย บัตรประจำตัวประชาชนและหลักฐาน แสดงว่าเป้นเจ้าของที่ดิน
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนในฐานะผู้มอบหมายให้ผู้อื่นมาดำเินินการแทน (หากเป็นนิติบุคคลจะต้องมีหนังสือรับรอง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วย)
- แบบแปลนการก่อสร้าง (ถ้ามี) พร้อมหนังสือรายงานการตรวจสภาพบ้านว่าได้ปลูกสร้างบ้านเสร็จ จากกองช่าง เทศบาลตำบลไชยปราการ (ผ.ท.9)
|
การแจ้งการย้ายที่อยู่
ปัจจุบันการแจ้งการย้ายที่อยู่ มีความสะดวกรวดเร็วเนื่องจากผู้แจ้งสามารถแจ้งย้ายปลายทาง อัตโนมัติ โดยไม่ต้องกลับไปแจ้งย้ายที่ต้นทางสำหรับการย้าย มีกรณีต่างดังนี้
|
การย้ายออก
เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายออกจากบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ย้ายออกแจ้งย้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออกไปโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
|
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
3. บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน (กรณีย้ายบุคคลในบ้านออก)
4. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง (กรณีเจ้าบ้านมอบอำนาจ)
5. หนังสือมอบอำนาจของเจ้าบ้าน
|
การย้ายเข้า
เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน ทั้งนี้ให้นำหลักฐานการย้ายออกแสดงต่อนายทะเบียน เพื่อทำการย้าย เข้า
|
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวของผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
4. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
5. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ตอนที่ 1 และตอนที่ 2) กรณีใบแจ้งย้ายทีอ่ยู่สูญหายหรือชำรุดในสาระ สำคัญก่อนนำไปย้ายเข้าผู้ย้าย เข้าสามารถขอใบแทนได้ที่นายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ออกใบแจ้ง การย้ายที่อยู่โดยยื่นคำร้อง พร้อมสำเนาการ แจ้งความประกอบเรื่อง หรือนำใบแจ้งย้ายที่อยู่ซึ่งชำรุดไป แสดง
|
การแจ้งย้ายปลายทางโดยอัตโนมัติ
การแจ้งย้ายปลายทางโดยอัตโนมัติ เป็นกรณีนอกเหนือจาก ข้อ 1 ข้อ 2 ซึ่งผู้ย้ายที่อยู่จะ เป็นผู้แจ้งการย้ายออก และย้ายเข้าต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ไปอยู่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วัน ย้ายออก โดยนำสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าบ้านที่เข้าไปอยู่ใหม่แสดงต่อนาย ทะเบียนและเสียค่าธรรมเนี่ยม 20 บาท พร้อมหลักฐานที่จะต้องนำไปแจ้งเกี่ยวกับการย้ายที่อยู่
|
การแจ้งย้ายออก-ย้ายเข้าเกิน กำหนด
เมื่อมีคนในบ้านย้ายออก-ย้ายเข้า เจ้าบ้านไม่แจ้งย้ายภายใน 15 วันนับแต่วันย้ายออก-ย้าย เข้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) |
การตรวจ คัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร ผู้มีส่วนได้เสียตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 หมายถึง
1. เจ้าบ้าน
2.ผู้ทีรายชื่อปรากฎในเอกสารที่จะขอตรวจหรือคัดและรับรองสำเนา
3. บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเอกสารทะเบียนราษฎรไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางออ้อม
|
หลักฐานที่จะต้องแสดงต่อนายทะเบียน 1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย
2.หากผู้ร้องเป็นผู้ทีส่วนได้เสียทางอ้อม นายทะเบียนจะสอบสวนบันทึกปากคำเพื่อยืนยันความเป็น ผู้มีส่วนได้เสียไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบทางอาญา ถ้าเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสีย
|
เทคนิคการเซ็นรับรองสำเนาให้ถูกต้องและปลอดภัย
|
อัตราค่าธรรมเนียม 1. คัดและรับรองสำเนารายการข้อมูลทะเบียนราษฎร 20 บาท
2. คัดและรับรองสำเนารายการในทะเบียนบ้าน 10 บาท
3. แจ้งย้ายปลายทาง 20 บาท
4. คัดทะเบียนบ้านแทนฉบับเดิมที่สูญหาย, ชำรุด 20 บาท
|
|
บริการรวดเร็ว ทันสมัย ประทับใจ |
|
|
|
|